จังหวัดบึงกาฬเดิมเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาไม่ทราบชัดว่าปีใดที่ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปี พ.ศ.2459 ทางราชการ ก่อสร้าง ที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย ส่วนบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้น ทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครอง ของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

          ปี พ.ศ.2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง กว้างประมาณ 160 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก “บึงกาญจน์” เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอชัยบุรีเป็น “อำเภอบึงกาญจน์” ตั้งแต่ นั้นมา ต่อมาปี พ.ศ.2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น ”อำเภอบึงกาฬ” เพื่อความสะดวกและเข้าใจง่าย ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอบึงกาฬตามลำดับ

          ใน ปี พ.ศ. 2537 นายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย พรรคเสรีธรรม ได้เสนอให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น โดยกำหนดจะแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาดอำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย รวมเป็นท้องที่ทั้งหมด 4,305 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ390,000 คน อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทยแจ้ง ผลการพิจารณาว่ายังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัดเพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณอีกทั้งยังเป็นการเพิ่ม กำลังคนภาครัฐซึ่งจะขัดกับมติคณะรัฐมนตรี

          โครงการล้างมาเกือบ 20 ปี กระทั่ง พ.ศ. 2553 กระทรวงมหาดไทยได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้งเพื่อยก”ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬพ.ศ. 2554” ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคายในคราวเดียวกันปรากฏว่าร้อยละ 98.83 เห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อมาวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และบังคับใช้ในวันรุ่งขึ้น โดยให้เหตุผลว่า

  • เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องอำเภอ จำนวนประชากรและลักษณะพิเศษของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อการให้บริการต่อประชาชน
  • จังหวัดหนองคายเป็นพื้นที่แนวยาวทอดตามแม่น้ำโขงจึงมีผลต่อการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน
  • จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอำนาจเจริญที่เคยตั้งขึ้นใหม่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน
  • จังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่ให้บริการสาธารณะซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • บุคลากรจำนวน 439 อัตรา สามารถกระจายกันในส่วนราชการได้ไม่มีผลกระทบมากนัก

          เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ มีความว่า " เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดนและมีลักษณะภูมิประเทศ เป็นแนวยาวทำให้การติดต่อระหว่างอำเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบากและใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครองการรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขง หลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคายออกจากการปกครองของ จังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ นี้”

          นอกจากมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยมีองค์ประกอบเป็นอำเภอทั้งแปดข้างต้นแล้วมาตรา 4 ยังให้เปลี่ยนชื่อ”อำเภอบึงกาฬ” เป็น”อำเภอเมืองบึงกาฬ” อีกด้วย


** การคมนาคม การเดินทาง **

       ทางรถยนต์ จากกรุงเทพมหานครใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรี (ที่นี่เป็นที่มาของคำพูด "สระบุรีเลี้ยวขวา" แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี และจากหนองคายสู่จังหวัดบึงกาฬ โดยจะผ่านอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 751 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11 ชม.

       ทางรถไฟ มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ - หนองคาย และขบวนรถด่วน กรุงเทพฯ - อุดรธานี ทุกวัน จากสถานีรถไฟหนองคายเดินทางต่อไปยังจังหวัดบึงกาฬ ระยะทาง 190 กิโลเมตร

       เครื่องบิน การเดินทางโดยเครื่องบินจาก กรุงเทพฯ - อุดรธานี ลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี เดินทางต่อไปยังจังหวัดบึงกาฬ ใช้เส้นทางจังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย อำเภอโพนพิสัย อำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ระยะทาง 190 กิโลเมตร

       การสื่อสารโทรคมนาคม จังหวัดบึงกาฬ มีที่ทำการไปรษณีย์ของรัฐ 7 แห่ง และองค์การโทรศัพท์ 1 สาขา


** ความหมายของตราประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ **
  1. วงกลมสีม่วงตัดด้วยเส้นขอบและตัวหนังสือสีขาวเป็นสีประจำจังหวัด
  2. วงกลมลายไทยสีเหลือง หมายถึง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
  3. หาดทรายในแม่น้ำโขง หมายถึง ความเชื่อมโยงและสายสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
  4. หนองน้ำ (สื่อถึงหนองกุดทิงและบึงโขงหลง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ขึ้นบัญชีแหล่งชุ่มน้ำโลก) หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์
  5. พญานาคและบั้งไฟพญานาค หมายถึง ความเชื่อและความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
  6. ยางพารา หมายถึง พืชเศรษฐกิจที่บึงกาฬเป็นจัดหวัดที่ปลูกยางพารามากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  7. ภูทอก (แปลว่าภูเขาที่ขึ้นอยู่อย่างโดดเดี่ยว) หมายถึง ความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์
  8. เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ เป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยมทรงกรวย มีแปดชั้นซึ่งในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงมรรค 8 แต่ในสัญลักษณ์นี้ หมายถึง การรวมกันของแปดอำเภอเป็นจังหวัดบึงกาฬ
  9. ชื่อภาษาอังกฤษสื่อถึงความเป็นสากล
  10. ดอกไม้ลายไทยที่คั่นระหว่างชื่อภาษาไทยกับภาษาอังกฤษสื่อถึงศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทย

** ความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ **

          องค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬจัดตั้งตาม พ.ร.บ. ตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ.2554 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2554 มีเขตพื้นที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับเขตจังหวัดบึงกาฬ ประกอบด้วย 8 อำเภอ คือ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล ซึ่งแยกการปกครองออกจากจังหวัดหนองคาย รวมขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ ขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 13 คน

  1. นายเอกชัย วงษ์คงคำ       ส.อบจ.อำเภอเมืองบึงกาฬ เขต 1
  2. นายคุณกร อินทร์แสง       ส.อบจ.อำเภอเมืองบึงกาฬ เขต 2
  3. นายอุ๊ด จันทะจิตร์       ส.อบจ.อำเภอเมืองบึงกาฬ เขต 3
  4. นายหน่วย ประตูกว้าง       ส.อบจ.อำเภอปากคาด
  5. นายอุทิศ คล่องดี       ส.อบจ.อำเภอบึงโขงหลง
  6. นางนริศรา วงค์ภูมี       ส.อบจ.อำเภอโซ่พิสัย เขต 1
  7. นายทองอยู่ แก้วกล้า       ส.อบจ.อำเภอโซ่พิสัย เขต 2
  8. นายบุญลือ พันธ์พินิจ       ส.อบจ.อำเภอเซกา เขต 1
  9. นายถวัล คำเชียงใหม่       ส.อบจ.อำเภอเซกา เขต 2
  10. นายสม เสี่ยงโชคอยู่       ส.อบจ.อำเภอเซกา เขต 3
  11. นายประดิษฐ คำบุญเรือง       ส.อบจ.อำเภอบุ่งคล้า
  12. นางดาหวัน คนขยัน       ส.อบจ.อำเภอพรเจริญ เขต 1
  13. นายไพวัลย์ อรกุล       ส.อบจ.อำเภอศรีวิไล

          ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคายเดิมให้เป็นสมาชิกสภาองการบริหารส่วนจังหวัด บึงกาฬในเขตเลือกตั้ง 8 อำเภอ ของจังหวัดบึงกาฬ โดยมีวาระดำรงตำแหน่งเช่นเดียวกันกับอายุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย

          มีปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย ทำหน้าที่ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ เพื่อดำเนินการจัดการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬเพิ่มอีกจำนวน 11 คน ให้ครบ 24 คน ตาม พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ. ตั้งจังหวัดบึงกาฬมีผลบังคับ

          ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2554 ได้จัดการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬเพิ่มอีก 11 คน ให้ครบ 24 คน ตามที่กฎหมายกำหนด

          ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งโดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2554 ประชาชนชาวบึงกาฬได้เลือก นายนิพนธ์ คนขยัน เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬคนแรกของจังหวัดบึงกาฬ มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬที่เลือกเพิ่ม จำนวน 11 คน ตาม พ.ร.บ. ตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ.2554 ครั้งแรก มีรายชื่อดังนี้

  1. นายเกรียงศักดิ์ วงษ์คงคำ       ส.อบจ. อำเภอเมืองบึงกาฬ
  2. นายพัฒนพงษ์ ราชป้องขันธ์       ส.อบจ. อำเภอเมืองบึงกาฬ
  3. นายสันติ คมขำ       ส.อบจ. อำเภอเซกา
  4. นายอนุสรณ์ แกหลิ่ง       ส.อบจ. อำเภอเซกา
  5. นายชาญวุฒิ บุตดา       ส.อบจ. อำเภอโซ่พิสัย
  6. นายสุรชัย ศรีทวีกาศ       ส.อบจ. อำเภอโซ่พิสัย
  7. นายไพโรจน์ จิตรไพศาล       ส.อบจ. อำเภอพรเจริญ
  8. นายวีรวัตร อุทา       ส.อบจ. อำเภอพรเจริญ
  9. นายสนิท คำบัว       ส.อบจ. อำเภอศรีวิไล
  10. นางสาวบุปผา ภูมิไทสง       ส.อบจ. อำเภอบึงโขงหลง
  11. นายอรุณ วัดโสภา       ส.อบจ. อำเภอปากคาด

          คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ ชุดแรก ประกอบด้วย

  1. นายนิพนธ์ คนขยัน       นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ
  2. นายจรูญ แสนพิมพ์       รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ
  3. นายสมภพ สุนันทนาม       รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ
  4. นางสมัย แสงนคร       เลขานุการองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ
  5. นางชื่น ชัยสุวรรณ       เลขานุการองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ
  6. นายเชาว์ ตันดี       เลขานุการองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ
  7. นายธรรมนูณ เจริญดี       ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ
  8. นายสมเกียรติ ลามคำ       ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ

          นายนิพนธ์ คนขยัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ แถลงนโยบายการบริหารงานต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2554 ก่อนเข้ารับการปฏิบัติหน้าที่บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 8 ด้าน ดังนี้

  1. ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  2. ด้านการเกษตร
  3. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  4. ด้านเศรษฐกิจการส่งเสริมการค้าและการลงทุน
  5. ด้านการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการ
  6. ด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
  7. ด้านการบริหารจัดการอนุรักษณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  8. ด้านสาธารณะสุข สังคมสงเคราะห์ และคุณภาพชีวิต

          ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬครั้งแรก มีจำนวน 5 คน โอนมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 มีรายชื่อ ดังนี้

  1. นายสุรกิจ เนื่องลี       นักบริหารงานช่าง 7
  2. นายวัชร มีธรรม       นายช่างโยธา 7ว
  3. นายวัฒนพงษ์       น้ำใส นิติกร 7ว
  4. นางสาวสดใส ศรีจูม       เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6ว
  5. นางสาวยุพิน พุทธาผา       เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 6ว

          ในปี พ.ศ. 2555 สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 24 คน ได้โอนมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย จำนวน 13 คน และที่มาจากการเลือกตั้งเพิ่มครั้งแรกจำนวน 11 คน ได้สิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2555

          เป็นเหตุให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬใหม่ นับเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬครั้งที่สองตั้งแต่ พ.ร.บ. ตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ.2554 มีผลใช้บังคับเป็นต้นมา และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ ผู้ได้รับการเลือกตั้ง จำนวน 24 คน คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 ประกอบด้วยรายชื่อ ดังนี้

  1. นายแสง เพ็งทอง       อำเภอเมืองบึงกาฬ เขต 1
  2. นายกเอกชัย วงษ์คงคำ       อำเภอเมืองบึงกาฬ เขต 2
  3. นายวรวิทย์ สุมังค์       อำเภอเมืองบึงกาฬ เขต 3
  4. นายอุดร โคตรรวงค์       อำเภอเมืองบึงกาฬ เขต 4
  5. นายสุรพล นูคำดี       อำเภอเมืองบึงกาฬ เขต 5
  6. นายสันติ คมขำ       อำเภอเซกา เขต 1
  7. นายอัมพร ศรีทอง       อำเภอเซกา เขต 2
  8. นายโชคสะอาด วิณโรจน์       อำเภอเซกา เขต 3
  9. นายอนุสรณ์ แกหลิ่ง       อำเภอเซกา เขต 4
  10. นายถวัลย์ คำเชียงใหม่       อำเภอเซกา เขต 5
  11. นายมนัส เขียวเซน       อำเภอโซ่พิสัย เขต 1
  12. นายทองเลื่อน มาตย์สมบัติ       อำเภอโซ่พิสัย เขต 2
  13. นายจาน พลโยธา       อำเภอโซ่พิสัย เขต 3
  14. นายทรงกช ทองคำ       อำเภอโซ่พิสัย เขต 4
  15. นายวีระวัตร อุทา       อำเภอพรเจริญ เขต 1
  16. นายวิโรจน์ สาระวงค์       อำเภอพรเจริญ เขต 2
  17. นายไพโรจน์ จิตไพศาล       อำเภอพรเจริญ เขต 3
  18. นายสนิท คำบัว       อำเภอศรีวิไล เขต 1
  19. นายอภิรักษ์ อำมาตย์สำราญ       อำเภอศรีวิไล เขต 2
  20. นายประสิทธิ์ แสงสว่าง       อำเภอบึงโขงหลง เขต 1
  21. นางฌานิการ์ เมืองแทน       อำเภอบึงโขงหลง เขต 2
  22. นายประดิษฐ คำบุญเรือง       อำเภอบุ่งคล้า
  23. นายภิรมย์ ยนต์พันธ์       อำเภอปากคาด เขต 1
  24. นายหน่วย ประตูกว้าง       อำเภอปากคาด เขต 2